9 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาชีพแอร์โฮสเตส
9 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาชีพแอร์โฮสเตส vs ความจริง
1️ เดินสวยในสนามบินไปรอผู้โดยสารบนเครื่อง ️
ความจริง: ลูกเรือต้องมาออฟฟิศก่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงเพื่อ Crew Pre-briefing หัวข้อที่คุยกันมีทั้ง safety talk, special passengers, special meals, weather conditions, service plan และความปลอดภัยอื่นๆ ของไฟลท์นั้นๆ
.
.
2️ เล่นติ๊กต๊อกรอผู้โดยสารขึ้นเครื่อง
ความจริง: ลูกเรือขึ้นเครื่องไป เช็ค safety equipment, อาหาร, special meals, ความปลอดภัย, confirm PRM briefing และเตรียมความพร้อมเคบินก่อนบอร์ดผู้โดยสาร
.
.
3️ เป็นแอร์เสิร์ฟอาหารอย่างเดียว ️
ความจริง: ดูแลความปลอดภัยเป็นหลัก! ลูกเรือต้องพร้อม ปฐมพยาบาล, ตรวจสอบห้องน้ำในเรื่องของ safety&security, เช็ค คว่มปลอดภัยในเครื่อง ผู้โดยสารสูบบุหรี่ ทะเลาะวิวาท ฯลฯ, ดับไฟถ้ามีเหตุฉุกเฉิน
4️ เสิร์ฟเสร็จก็นั่งพัก
ความจริง: หลายไฟลท์ยาวมี 2-3 รอบเซอร์วิส เช่น เสิร์ฟเครื่องดื่ม, ชา-กาแฟ, เดินน้ำระหว่างไฟล์ม, duty-free, snack service รวมถึง เดินเช็คห้องน้ำ, ตรวจสอบผู้โดยสาร, เช็คกัปตันกับนักบิน (flight deck check)
.
.
5️ แอร์มีหน้าที่ช่วยยกกระเป๋า
ความจริง: ลูกเรือสามารถช่วยแนะนำจัดหาที่เก็บกระเป๋า แต่ไม่มีหน้าที่ต้องยกกระเป๋าให้ผู้โดยสาร สามารถช่วยยกคู่กับผู้โดยสารในบางกรณีเช่นผู้โดยสารบาดเจ็บ ทั้งนี้เพื่อต้องป้องกันอาการบาดเจ็บของลูกเรือด้วย (ถ้ายกจนเจ็บหลัง เจ็บข้อมือ เกิดอุบัติเหตุ ก็ทำ emergency evacuation เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินไม่ได้นะคะ)
.
.
6️ แอร์คือแม่บ้านบนเครื่อง
ความจริง: ลูกเรือมีหน้าที่ดูแลความสะอาดด้วยในระหว่างการเดินทางจริง ให้ทุกคนมีสุขภาพ& well-being ที่ดี แต่จุดประสงค์เพื่อความปลอดภัยมาเป็นอันดับ 1 เช่น ตรวจสอบห้องน้ำ ในกรณีมีคนแอบเข้าไปสูบบุหรี่ป้องกันไฟไหม้ อุปกรณ์แปลกปลอมไหม
7️ เป็นแอร์คือได้ตั๋วบินฟรี
ความจริง: โดยมาตราฐานจะได้ตั๋วบินกลับบ้าน หรือประเทศที่ลงระบบไว้ปีละ 1 ครั้ง และระหว่างปีได้สวัสดิการเป็น ตั๋ว ID90 หรือ ID 50 เป็นตั๋วราคาพนักงาน จ่ายในราคาน่ารักมากๆ
.
.
8️ เป็นแอร์แค่ทำงานบนเครื่องแล้วกลับบ้าน
ความจริง: ลูกเรือต้องทำ post-flight report เช่น รายงาน first aid case, safety issue, passenger incident เช็คให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทุกอย่างบนเครื่องพร้อมสำหรับไฟลท์ถัดไป
.
.
9️ แอร์ต้องใจดี Say yes น่ารักกับทุกคน
ความจริง: ลูกเรือต้อง Assertive& professional ดูแลผู้โดยสาร แต่ ต้องมี authority ในการควบคุมสถานการณ์ เช่น จัดการคนเมาบนเครื่อง, ปฏิเสธการให้แอลกอฮอล์, บอกผู้โดยสารทำตาม safety procedures เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในทุกเที่ยวบิน
.
.
เพราะฉะนั้น
อาชีพแอร์ไม่ได้มีแค่เดินสวยเสิร์ฟอาหาร แต่ต้องพร้อมรับมือทุกสถานการณ์! ถ้าอยากสอบติดสายการบิน ต้องเข้าใจบทบาทที่แท้จริง และเตรียมตัวให้ถูกทาง
และนี่คือส่วนหนึ่งของหนังสือสองภาษา
20 ทริก สอบติดทุกสายการบิน
เคล็ดลับเตรียมตัวสอบ
เทคนิคตอบคำถามสัมภาษณ์
สิ่งที่สายการบินมองหาในในตัวคุณ
flytosuccess course คอร์สสร้างสูตรสำเร็จติดปีก!
ปูพื้นฐานทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มสมัครจนถึงวันสัมภาษณ์
ฝึกตอบคำถามแบบตรงใจกรรมการ
เจาะลึกเทคนิคเฉพาะที่สายการบินมองหา
Exclusive Coaching ฟรี!ตลอดชีพ
เรียนจบพร้อมติดปีกม้วนเดียวจบ! ไม่ต้องลองผิดลองถูกเอง
DM @flytosuccess